วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จะถามลูกค้าเรื่องของสินค้า เช่นจะสั่งซื้อสินค้า จะเขียน e-mail ไปถามลูกค้าว่าไงดีคะ

ประโยคซักถามเกี่ยวกับสินค้า- การสั่งซื้อ เช่น

1. How many you have available in each variety?(มีสินค้าอยู่เท่าไหร่ กี่ชิ้นในแต่ละรายการ)
2. I intend to purchase some plants. Please send your availability list.(ฉันต้องการซื้อต้นไม้บางต้น กรุณาส่งรายการสินค้ามาให้ดูหน่อย)
3. Kindly give me a catalogue for the mentioned address. (ช่วยส่งแคตตาล็อก มายังที่อยู่ดังกล่าวหน่อย)

ถ้าจะไม่พูด Yes และ No จะพูดอะไรได้อีกคะ

1. Certainly. (แน่นอน) ตรงข้ามกับ Certainly not. (ไม่......แน่นอน)
2. Of course. (แน่ล่ะ) ตรงข้ามกับ Of course not. (ไม่.....แน่ล่ะ )
3. I hope so. (หวังว่าคงเป็นเช่นนั้น) ตรงข้ามกับ I hope not. (หวังว่าคงไม่เป็นเช่นนั้น)
4. Perhaps so. (บางทีอาจเป็นเช่นนั้น) ตรงข้ามกับ Perhaps not. (บางทีอาจไม่เป็นเช่นนั้น)
5. I think so. (ฉันก็คิดว่าอย่างนั้นแหละ) ตรงข้ามกับ I don't think so. (ฉันไม่คิดว่าอย่างนั้น)
6. By all means.(ได้แน่, ไม่มีปัญหา)
7. That's right. (ถูกแล้ว )
8. Not at all. (ไม่เป็นไรเลย)
9. That's it. (อย่างงั้นสิ )
10. Not yet. (ยังเลย )
11. That's true. (จริงๆ )
12. Very likely. (น่าจะเป็นเช่นนั้น )
13. I see. (อ้อ! เข้าใจละ )

คำอวยพรสั้น ๆ สำหรับการพูดคุยกับลูกค้า

1. Have a nice trip. (ขอให้ได้รับความสนุกในการเดินทาง)
2. Bon Voyage.(ภาษาฝรั่งเศส อ่าน "บง-โว-ยาจ" แปล ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ)
3. Have a nice day/ weekend.(วันนี้/สุดสัปดาห์นี้ ขอให้ได้รับความสุขสนุกสนาน)
4. Give my regard to your mother/father.(เรียนคุณแม่/คุณพ่อ ว่าผมกราบเคารพและระลึกถึง)
5. Remember me to your parents. ( เรียนคุณพ่อคุณแม่ของคุณด้วยว่าผมกราบเคารพ ระลึกถึง)
6. Take care.(ดูแลตัวเองด้วยนะ)

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการส่งออกสินค้า

(1) ผู้ส่งออกหรือตัวแทนส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกและบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ทุกรายการจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งออกหรือตัวแทนมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร โดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์

(2) เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าขาออกส่งมาถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้าขาออกและตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าขาออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้และแจ้งกลับไปยังผู้ส่งออกหรือตัวแทน เพื่อจัดพิมพ์ใบขนสินค้า

ใบขนสินค้าขาออกที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้ส่งออกหรือตัวแทนต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่ผ่านพิธีการ
ใบขนสินค้าขาออกที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สำหรับใบขนสินค้าขาออกประเภทนี้ ผู้ส่งออกสามารถชำระค่าอากร (ถ้ามี) และดำเนินการนำสินค้าไปตรวจปล่อยเพื่อส่งออกได้เลยโดยไม่ต้องไปพบเจ้าหน้าที่ประเมินอากร

ใบขนสินค้าขาออก คืออะไร แล้วมีกี่ประเภทคะ

ใบขนสินค้าขาออก เป็นแบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกำหนดให้ผู้ส่งออกต้องยื่นต่อกรมศุลกากรในการส่งออกสินค้า ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการส่งออก ดังนี้

(1) แบบ กศก.101/1 ใบขนสินค้าขาออก ใช้สำหรับการส่งออกในกรณี ดังต่อไปนี้
การส่งออกสินค้าทั่วไป
การส่งออกของส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์
การส่งออกสินค้าประเภทส่งเสริมการลงทุน (BOI)
การส่งออกสินค้าจากคลังสินค้าทัณฑ์บน
การส่งออกสินค้าที่ขอชดเชยค่าภาษีอากร
การส่งออกสินค้าที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
การส่งออกสินค้าที่ต้องการใบสุทธินำกลับ
การส่งสินค้ากลับออกไป (RE-EXPORT)

(2) แบบ กศก.103 คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน ใช้สำหรับการขอส่งสินค้าออกไปก่อนปฏิบัติพิธีการใบขนสินค้าขาออกในลักษณะที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ ในประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร พ.ศ. 2544

(3) แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับพิธีการส่งของออกชั่วคราวในลักษณะที่กำหนดในอนุสัญญา

(4) ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการส่งออกรถยนต์และจักรยานยนต์ชั่วคราว

จะส่งออก เอกสารที่ผู้ส่งออกควรจัดเตรียมในการส่งออกสินค้า มีอะไรบ้างคะ

(1) ใบขนสินค้าขาออก ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ หรือแล้วแต่ลูกค้าขอ
(2) บัญชีราคาสินค้า (Invoice) 2 ฉบับ หรือแล้วแต่ลูกค้าขอ
(3) แบบธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Transaction Form) : ธต. 1 จำนวน 2 ฉบับ กรณีสินค้าส่งออกมีราคา FOB เกิน 500,000 บาท
(4) ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นใดสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก
(5) เอกสารอื่น ๆ (ถ้าลูกค้าขอ)

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Bill for Collection (B/C) คืออะไร

Bill for Collection (B/C)

เป็นเครื่องมือการชำระเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันว่าเมื่อผู้ขายส่งสินค้าเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายจะจัดทำและส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินยังผู้ซื้อโดยผ่านธนาคารของผู้ซื้อ ซึ่งเรียกเครื่องมือการชำระเงินนี้ว่า Bill for Collection (B/C) โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Documents Against Payment (D/P) และ Documents Against Acceptance (D/A) ธนาคารจะเป็นตัวกลางในการเรียกเก็บเงินเท่านั้น จะไม่มีภาระผูกพันเกี่ยวกับการชำระเงินแทนผู้ซื้อ ซึ่งธนาคารสามารถให้บริการแก่ผู้นำเข้าได้

ข้อความนี้มาจาก Exim Bank