วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จะถามลูกค้าเรื่องของสินค้า เช่นจะสั่งซื้อสินค้า จะเขียน e-mail ไปถามลูกค้าว่าไงดีคะ

ประโยคซักถามเกี่ยวกับสินค้า- การสั่งซื้อ เช่น

1. How many you have available in each variety?(มีสินค้าอยู่เท่าไหร่ กี่ชิ้นในแต่ละรายการ)
2. I intend to purchase some plants. Please send your availability list.(ฉันต้องการซื้อต้นไม้บางต้น กรุณาส่งรายการสินค้ามาให้ดูหน่อย)
3. Kindly give me a catalogue for the mentioned address. (ช่วยส่งแคตตาล็อก มายังที่อยู่ดังกล่าวหน่อย)

ถ้าจะไม่พูด Yes และ No จะพูดอะไรได้อีกคะ

1. Certainly. (แน่นอน) ตรงข้ามกับ Certainly not. (ไม่......แน่นอน)
2. Of course. (แน่ล่ะ) ตรงข้ามกับ Of course not. (ไม่.....แน่ล่ะ )
3. I hope so. (หวังว่าคงเป็นเช่นนั้น) ตรงข้ามกับ I hope not. (หวังว่าคงไม่เป็นเช่นนั้น)
4. Perhaps so. (บางทีอาจเป็นเช่นนั้น) ตรงข้ามกับ Perhaps not. (บางทีอาจไม่เป็นเช่นนั้น)
5. I think so. (ฉันก็คิดว่าอย่างนั้นแหละ) ตรงข้ามกับ I don't think so. (ฉันไม่คิดว่าอย่างนั้น)
6. By all means.(ได้แน่, ไม่มีปัญหา)
7. That's right. (ถูกแล้ว )
8. Not at all. (ไม่เป็นไรเลย)
9. That's it. (อย่างงั้นสิ )
10. Not yet. (ยังเลย )
11. That's true. (จริงๆ )
12. Very likely. (น่าจะเป็นเช่นนั้น )
13. I see. (อ้อ! เข้าใจละ )

คำอวยพรสั้น ๆ สำหรับการพูดคุยกับลูกค้า

1. Have a nice trip. (ขอให้ได้รับความสนุกในการเดินทาง)
2. Bon Voyage.(ภาษาฝรั่งเศส อ่าน "บง-โว-ยาจ" แปล ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ)
3. Have a nice day/ weekend.(วันนี้/สุดสัปดาห์นี้ ขอให้ได้รับความสุขสนุกสนาน)
4. Give my regard to your mother/father.(เรียนคุณแม่/คุณพ่อ ว่าผมกราบเคารพและระลึกถึง)
5. Remember me to your parents. ( เรียนคุณพ่อคุณแม่ของคุณด้วยว่าผมกราบเคารพ ระลึกถึง)
6. Take care.(ดูแลตัวเองด้วยนะ)

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการส่งออกสินค้า

(1) ผู้ส่งออกหรือตัวแทนส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกและบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ทุกรายการจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งออกหรือตัวแทนมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร โดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์

(2) เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าขาออกส่งมาถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้าขาออกและตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าขาออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้และแจ้งกลับไปยังผู้ส่งออกหรือตัวแทน เพื่อจัดพิมพ์ใบขนสินค้า

ใบขนสินค้าขาออกที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้ส่งออกหรือตัวแทนต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่ผ่านพิธีการ
ใบขนสินค้าขาออกที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สำหรับใบขนสินค้าขาออกประเภทนี้ ผู้ส่งออกสามารถชำระค่าอากร (ถ้ามี) และดำเนินการนำสินค้าไปตรวจปล่อยเพื่อส่งออกได้เลยโดยไม่ต้องไปพบเจ้าหน้าที่ประเมินอากร

ใบขนสินค้าขาออก คืออะไร แล้วมีกี่ประเภทคะ

ใบขนสินค้าขาออก เป็นแบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกำหนดให้ผู้ส่งออกต้องยื่นต่อกรมศุลกากรในการส่งออกสินค้า ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการส่งออก ดังนี้

(1) แบบ กศก.101/1 ใบขนสินค้าขาออก ใช้สำหรับการส่งออกในกรณี ดังต่อไปนี้
การส่งออกสินค้าทั่วไป
การส่งออกของส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์
การส่งออกสินค้าประเภทส่งเสริมการลงทุน (BOI)
การส่งออกสินค้าจากคลังสินค้าทัณฑ์บน
การส่งออกสินค้าที่ขอชดเชยค่าภาษีอากร
การส่งออกสินค้าที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
การส่งออกสินค้าที่ต้องการใบสุทธินำกลับ
การส่งสินค้ากลับออกไป (RE-EXPORT)

(2) แบบ กศก.103 คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน ใช้สำหรับการขอส่งสินค้าออกไปก่อนปฏิบัติพิธีการใบขนสินค้าขาออกในลักษณะที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ ในประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร พ.ศ. 2544

(3) แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราว ใช้สำหรับพิธีการส่งของออกชั่วคราวในลักษณะที่กำหนดในอนุสัญญา

(4) ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับการส่งออกรถยนต์และจักรยานยนต์ชั่วคราว

จะส่งออก เอกสารที่ผู้ส่งออกควรจัดเตรียมในการส่งออกสินค้า มีอะไรบ้างคะ

(1) ใบขนสินค้าขาออก ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ หรือแล้วแต่ลูกค้าขอ
(2) บัญชีราคาสินค้า (Invoice) 2 ฉบับ หรือแล้วแต่ลูกค้าขอ
(3) แบบธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Transaction Form) : ธต. 1 จำนวน 2 ฉบับ กรณีสินค้าส่งออกมีราคา FOB เกิน 500,000 บาท
(4) ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นใดสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก
(5) เอกสารอื่น ๆ (ถ้าลูกค้าขอ)

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Bill for Collection (B/C) คืออะไร

Bill for Collection (B/C)

เป็นเครื่องมือการชำระเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันว่าเมื่อผู้ขายส่งสินค้าเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายจะจัดทำและส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินยังผู้ซื้อโดยผ่านธนาคารของผู้ซื้อ ซึ่งเรียกเครื่องมือการชำระเงินนี้ว่า Bill for Collection (B/C) โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Documents Against Payment (D/P) และ Documents Against Acceptance (D/A) ธนาคารจะเป็นตัวกลางในการเรียกเก็บเงินเท่านั้น จะไม่มีภาระผูกพันเกี่ยวกับการชำระเงินแทนผู้ซื้อ ซึ่งธนาคารสามารถให้บริการแก่ผู้นำเข้าได้

ข้อความนี้มาจาก Exim Bank

ใบproforma invoice กับ ใบinvoice ต่างกันอย่างไร

Pro-forma Invoice

ใช้ในการเสนอราคา และเงื่อนไขในการจ่ายเงิน ผู้ส่งสินค้ามักจะทำเป็น Pro-forma Invoice ส่งไปให้ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อพอใจก็จะเปิด Credit สั่งซื้อสินค้าโดยอ้าง เลขที่และวันที่ ของ Pro-forma Invoice นั้นๆ ดังนั้น Pro-forma Invoice จึงใช้ได้ทั้งเป็นการเสนอขายและข้อตกลงแทนสัญญาซื้อขายไปในตัว

Invoice หรือ Commercial Invoice

Commercial Invoice เป็นเอกสารที่ผู้ส่งออก (Exporter) จัดทำขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าต่าง ๆ ตัวอย่างเ้ช่น รายละเอียดของสินค้า จำนวน น้ำหนัก ราคา และอื่น ๆ ที่อาจจะระบุในเงื่อนไขของ L/C ในส่วนของ Description of Good

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการส่งออกสินค้าควบคุม มีวิธีการดังนี้

การส่งออกสินค้าควบคุม จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน จึงจะทำการส่งออกได้

  1. จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก ได้แก่ กาแฟ ข้าว ทุเรียน ปลาทูนาบรรจุภาชนะอัดลม กุ้ง ปลาหมึกแช่เย็นแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ ลำไยสด สิ่งทอ ดอกกล้วยไม้ ผลิตภัณฑ์- มันสำปะหลัง
  2. ขอใบอนุญาตส่งออก ได้แก่ กากถั่วเหลือง (ในหลักการไม่อนุญาตให้ส่งออก) กาแฟ กุ้งกุลาดำ ข้าว ช้าง ซากเต่าบางชนิด ซากสัตว์บางชนิด สินค้า RE-EXPORT ถ่านไม้ ถ่านหิน ทองคำ น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์หอยมุก พระพุทธรูป ไม้และไม้แปรรูป (เฉพาะไม้ยางพารา ไม้สน และไม้ยูคาลิปตัส) แร่ที่มีทราย สัตว์ป่าบางชนิด หอยมุก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
  3. ขอรับการจัดสรรปริมาณ (โควตา) การส่งออก ได้แก่ ข้าว สิ่งทอ
  4. ห้ามส่งออก/ในหลักการไม่อนุญาตให้ส่งออก ได้แก่ กระแต กากถั่ว เต่าจักร ทราย ปลาทะเลสวยงาม ปะการัง ม้า ลา ล่อ เมล็ดปอ สัตว์น้ำ 258 ชนิด สินค้าปลอม สินค้าลิขสิทธิ์ หวาย การส่งออกไปยัง 3 ประเทศที่กล่าวข้างต้น
ผู้ประกอบการสามารถสอบถาม/ค้นหารายละเอียดได้จาก
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
โทร. 0-2547-4771 ถึง 86
Web Site : www.dft.moc.go.th/export_index.html
Web Site ของกรมส่งเสริมการส่งออก : www.depthai.go.th/export/index.html

ทางทีมงานจะจัดหาข้อมูลในเรื่องขั้นตอนการส่งออกสินค้าควบคุมอย่างละเอียดในคราวต่อไปคะ

สินค้าอะไรบ้างที่เข้าข่ายว่าเป็นสินค้ามาตราฐาน

สินค้ามาตรฐานที่กำหนดมี 12 ชนิด ได้แก่

ปอฟอก ข้าวโพด เมล็ดละหุ่ง ปุยนุ่น ไม้สักแปรรูป ข้าวฟ่าง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ถั่วเขียว ปลาป่น ถั่วเขียวผิวดำ แป้งมันสำปะหลัง ข้าวหอมมะลิไทย

สินค้าอะไรบ้างที่เข้าข่ายว่าเป็นสินค้าควบคุม


ก่อนอื่นขอแนะนำสินค้าควบคุมว่าคืออะไรก่อนนะคะ

สินค้าควบคุม เป็นสินค้าที่มีมาตรการจัดระเบียบการส่งออก เป็นสินค้า ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ความสงบและความเรียบร้อยภายในประเทศ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ

สินค้าควบคุม ได้แก่

สินค้าเกษตรกรรม
- ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวสาร ข้าวเหนียว - สัตว์ป่า (นก) 20 ชนิด
- ข้าวภายใต้โควต้าภาษีของสหภาพยุโรป - สัตว์ป่า (29 ชนิด)
- เมล็ดปอ - สัตว์ป่า (22 ชนิด)
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง - สัตว์ป่า (29 ชนิด)
- สินค้ากาแฟ - ซากสัตว์ป่า (38 ชนิด)
- ผลิตภัณฑ์กาแฟ - ซากสัตว์ป่า (29 ชนิด)
- กากถั่ว - ซากสัตว์ป่า (29 ชนิด)
- ไม้และไม้แปรรูป - ซากสัตว์ป่า (195 ชนิด)
- ไม้ยางพารา - ซากเต่า
- หวาย - ปะการัง
- ถ่านไม้ - เต่าจักร
- ช้าง ม้า ลา ล่อ - กุ้งกุลาดำมีชีวิต
- โค กระบือ - ปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิต
- กระแต - สัตว์น้ำใกล้สูญพันธ์
- สัตว์ป่า (177 ชนิด) - หอยมุกและผลิตภัณฑ์
สินค้าอุตสาหกรรม

- น้ำตาล - พระพุทธรูป
- ถ่านหิน - น้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ของน้ำมันเชื้อเพลิง
- ปุ๋ย - แร่ที่มีทรายเป็นส่วนประกอบ
- ทองคำ - สินค้ารี-เอก็กซ์ปอร์ต
- เทวรูป

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จะติดต่อกรมส่งเสริมการส่งออก เชิญทางนี้เลยคะ

เบอร์ติดต่อกรมส่งเสริมการส่งออก ทางนี้เลยคะ

22/77 ถนนรัชดาภิเษก จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 0-2511-5066-77 ต่อ 286-288

สายด่วนผู้ส่งออก โทร. 1169, 0-2512-5151, 0-2511-5502
Web Site: www.depthai.go.th, www.thaitrade.com

จะจดทะเบียนธุรกิจได้ที่ไหนบ้าง

สถานที่ที่คุณสามารถไปจดทะเบียนธุรกิจได้ คือ

1. กรุงเทพมหานคร

1.1 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 (มหาราช)
โทร. 0-2622-0569 ถึง 70
1.2 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 2 (ถ.พระราม 6)
โทร. 0-2618-3340 ถึง 41 และ 45
1.3 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 3 (รัชดาภิเษก)
โทร. 0-2276-7266
1.4 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 4 (สีลม)
โทร. 0-2630-4696 ถึง 97
1.5 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 5 (รัชดาภิเษก)
โทร. 0-2276-7255-6
1.6 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 6 (ศรีนครินทร์)
โทร. 0-2722-8366, 68 และ 77
1.7 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 7 (รัชดาภิเษก)
โทร. 0-2276-7251 และ 53
1.8 ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (อาคารกรมพัฒนาธุรกิจ จ.นนทบุรี)
โทร. 0-2547-4423 ถึง 24

2. ต่างจังหวัด ที่สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด 75 จังหวัด
นอกจากนี้ สามารถจดทะเบียนธุรกิจทาง Internet ได้ที่


ต้องการทำธุรกิจส่งออกแต่ไม่รู้ว่าจะส่งออกสินค้าอะไรดี จะศึกษาจากอะไรได้บ้าง ?

มีผู้ประกอบการหลายรายที่อยากจะทำธุรกิจส่งออก แต่ยังไม่รู้ว่าจะส่งออกสินค้าอะไรดี ซึ่งการเริ่มต้นในการเลือกสินค้า นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าเราเลือกสินค้าที่มีความต้องการมาก เช่น อาหาร หรือ ว่ายา เป็นต้น ย่อมหมายความว่า ต้องมีผู้บริโภคและคนที่ต้องการสินค้าเป็นจำนวนมาก แต่ในทางเดียวกัน คู่แข่งขันในธุรกิจ ก็ย่อมมากตามไปด้วยแต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่ประสบความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับเทคนิคการเจรจาการค้า ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของผู้ขาย และคุณภาพของสินค้าด้วย

ดังนั้น การเริ่มทำธุรกิจส่งออกสำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกสินค้าอะไรดีจะต้องศึกษาดังนี้

ให้ถามตัวเองว่าชอบ หรือมีความตั้งใจที่จะทำสินค้าตัวไหนเป็นพิเศษหรือเปล่า เพราะว่ามีนักธุรกิจหลายรายที่เริ่มต้นจากการเลือกสินค้าที่ตนเองชอบ แล้ว สามารถค้าขายหรือว่าส่งออก และประสบความสำเร็จ เพราะการ ที่เราทำอะไรแล้วเราชอบ ย่อมมีความตั้งใจเป็นพิเศษ

ให้ดูว่า เราสามารถผลิต หรือ มีความชำนาญสินค้าตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษหรือเปล่า คือ ผู้ประกอบการบางรายยังไม่มีสินค้าในการส่งออกแล้วมีความต้องการที่จะผลิตสินค้าเอง มากกว่าที่จะสั่งผลิตจากโรงงานแล้วทำการส่งออก การศึกษาในวิธีนี้ให้ดูว่า ถ้าคุณต้องการผลิตสินค้าขึ้นมาหนึ่งตัวเพื่อการส่งออก คุณต้องดูว่า คุณมีความชำนาญสินค้าอะไร มีความถนัดสินค้าอะไร และมีความพร้อมใน ในการผลิตหรือเปล่า ถ้าวิเคราะห์ได้แล้วว่ามีความพร้อม คุณก็สามารถผลิตสินค้าที่คุณคิดว่ามีความพร้อมได้ เพราะการที่ผลิตสินค้าที่เราชำนาญ มีความรู้ และมีความพร้อม ก็ย่อมจะทำได้ดีกว่า สินค้าที่เราไม่ถนัด และไม่มีความชำนาญ

ให้ดูว่าเรามี Connectıon ธุรกิจกับใครบ้าง เช่น เราอาจจะรู้จัก เจ้าของโรงงานผลิตสปา ซึ่งเรามี Connectıon หรือมีมิตรภาพกันมายาวนาน ถ้าจะรับของจากโรงงานดังกล่าวไปขาย หรือนำไปทำการตลาดต่างประเทศ ก็น่าจะได้ราคาหรือความไว้เนื้อเชื่อใจได้มากกว่า สินค้าในโรงงานอื่นๆ
ให้ศึกษาจากสถิติการค้า ว่ามีสินค้าตัวไหนบ้างทีมีการนำเข้าและส่งออกโดยศึกษาจากตัวเลขมูลค่าการนำเข้าและส่งออกโดยรวมในแต่ละปี (เพื่อให้รู้ว่ามีสินค้าอะไรบ้างที่มูลค่ามากในขณะนั้น) การศึกษาโดยใช้ข้อมูลสถิติการค้าในแต่ละสินค้า ทำให้เราวิเคราะห์ได้ว่า สินค้าในแต่ละตัวที่ประเทศไทย หรือว่า ทั่วโลกทำการนำเข้า ส่งออก มีปริมาณมากน้อยแค่ไหน มีมูลค่าเท่าไหร่ แล้วนำข้อมูลนี้มาตัดสินใจในการเลือกสินค้า

ให้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในแต่ละประเทศ ว่าในแต่ละประเทศมีแนวโน้ม และมีความเป็นอยู่อย่างไรบ้าง ถ้าผู้ประกอบการสนใจที่จะไปลงทุน หรือว่าสนใจทำธุรกิจส่งออกไนประเทศนั้นๆ ให้ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน หรือกฎระเบียบ และพฤติกรรมแนวโน้มการบริโภค(ของสินค้า) ของแต่ละประเทศ ที่เราสนใจลงทุน และทำธุรกิจส่งออก ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปที่ดูข้อมูลได้ที่ http://www.mfa.go.th/web/37.php เป็น Website ของกระทรวงต่างประเทศ ที่มีข้อมูลพื้นฐานในแต่ละประเทศ ดังนั้น ถ้าเข้าไปที่ Website ดังกล่าว ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดของแต่ละประเทศ เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกสินค้าสำหรับทำธุรกิจส่งออกได้

การเข้าเยี่ยมชมงานแสดงแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ การเข้าเยี่ยมงานแสดงสินค้าเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยผู้ประกอบการได้มาก เพราะว่า งานแสดงสินค้าในแต่ละงาน จะเป็นการรวมตัวของบริษัทต่างๆ ที่นำสินค้ามาแสดงและนำมาแข่งขันกัน ตรงจุดนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่เข้าเยี่ยมชม เพราะจะเห็นภาพรวมของสินค้าและการแข่งขัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการส่งออกสินค้าอาหาร ให้เข้าเยี่ยมชมงานแสดงสินค้า THAIFEX ของกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นต้น และ ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปดู โปรแกรมงานแสดงสินค้าทั้งปีได้ที่ http://203.155.213.145/Center_Public/list_activity_th.html


ข้อมูลได้มาจาก ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจระหว่างประเทศ (IBCC)

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
ศูนย์ให้คำปรึกษาธุรกิจระหว่างประเทศ (IBCC)
DEP Call Center : 1169
http://www.depthai.go.th

จะส่งออกจะต้องเริ่มอย่างไรบ้าง

ขั้นตอนการส่งออกประกอบด้วย

1. การจดทะเบียนพาณิชย์
2. การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
3. เสนอขายและรับการสั่งซื้อ
4. การเตรียมสินค้า
5. ติดต่อขนส่ง
6. จัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก
7. ติดต่อผ่านพิธีการศุลกากร
  • พิธีการตรวจเอกสาร
  • พิธีการตรวจสินค้า
8. การส่งมอบสินค้า
9. การเรียกเก็บเงินค่าสินค้า
10. ขอรับสิทธิประโยชน์